Category Archives: เครื่องยนต์

ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel System)

ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel System)

แน่นอน เครื่องยนต์จะทำงานได้ต้องมีน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อเป็นส่วนผสมของอากาศ และประกายไฟจากหัวเทียน ทำการจุดระเบิดในกระบอกสูบ ถึงจะเกิดกำลังในการขับเคลื่อนได้ อุปกรณ์ในระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ ถังน้ำมันเชื้อเพลิง หม้อกรองน้ำมันเชื้อเพลิง ปั้มพ์น้ำมันเชื้อเพลิง คาร์บูเรเตอร์ หม้อกรองอากาศ และท่อร่วมไอี

 

เมื่อเครื่องยนต์เริ่มทำงาน ปั้มพ์น้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Pump) ก็จะทำการสูบน้ำมันจากถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ผ่านมาทางท่อน้ำมันเข้าที่หม้อกรองน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Filter) เพื่อกรองสิ่งสกปรกที่อาจติดมากับน้ำมัน จากนั้น น้ำมันก็จะถูกส่งมาที่ตัวคาร์บูเรเตอร์ (Carburetor) หรืออาจเป็นระบบหัวฉีดน้ำมันอิเลคทรอนิค

ในขณะที่ลูกสูบในกระบอกสูบ กำลังเคลื่อนตัวลงสู่ตำแหน่งศูนย์ตายล่าง (ตามจังหวะการทำงานที่ 1) ประจวบกับวาล์วไอดีเปิด ทำให้มีแรงดูดอากาศเข้ามาในกระบอกสูบ อากาศจากภายนอกรถยนต์ จะเข้ามาทางหม้อกรองอากาศเพื่อกรองสิ่งสกปรก จากนั้นอากาศ ก็จะผ่านเข้ามาทางคาร์บูเรเตอร์ ซึ่งในคาบูเรเตอร์ จะมีน้ำมันเชื้อเพลิงมารออยู่แล้ว แรงดูดอากาศ ที่เกิดจากการที่ลูกสูบ เคลื่อนที่ลงสู่ตำแหน่งศูนย์ตายล่างนั้น จะทำให้อากาศกับน้ำมัน ผสมเข้าด้วยกัน ในปริมาณ และสัจส่วนพอเหมาะ (ตามที่กำหนดไว้) แล้วเคลื่อนตัวเข้าสู่ท่อร่วมไอดี ผ่านเข้าทางวาล์วไอดี ที่เปิดรออยู่ ซึ่งขณะนี้เชื้อเพลิงเข้ามาสู่กระบอกสูบแล้ว และลูกสูบจะเคลื่อนที่ ขึ้นสู่ตำแหน่งศูนย์ตายบนอีกครั้ง ในจังหวะการทำงานที่ 2 ต่อไป

ระบบจุดระเบิด (Ignition System)

ระบบจุดระเบิด (Ignition System)

ระบบจุดระเบิด ทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับหัวเทียน ทำการจุดประกายไฟ เพื่อใช้ในการระเบิดในกระบอกสูบ ตามจังหวะที่ลูกสูบแต่ละสูบ เคลื่อนที่ขึ้นไป ก่อนจะถึงตำแหน่งศูนย์ตายบน (Top Dead Center) ในปลายจังหวะอัด ของลูกสูบแต่ละสูบ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กำเนิดกำลังไฟ ที่ใช้ในการนี้คือ คอยล์จุดระเบิด (Coil) รถยนต์บางรุ่นโดยเฉพาะรุ่นใหม่ๆ อาจไม่ใช้ระบบจุดระเบิดโดยใช้ คอยล์จุดเป็นอุปกรณ์หลัก แต่จะใช้ระบบอีเล็คทรอนิคทำงานแทน

 

 

 

เครื่องยนต์ 4 สูบ 6 สูบ 8 สูบ หรือ 12 สูบ ก็แล้วแต่ จะมีหัวเทียนเป็นตัวสร้างประกายไฟ สำหรับจุดระเบิด และสำหรับไฟฟ้า ที่ใช้ในการจุดระเบิด ที่ปลายหัวเทียนจะ มีขนาดประมาณ 20,000 – 30,000 โวล์ หรือมากกว่า ไฟฟ้าเหล่านี้ ได้มาจาก กระบวนการแปลงไฟ จากแบตเตอรี่ขนาด 12 โวล์ ผ่านตัว คอยล์จุดระเบิด (Coil) คอยจุดระเบิดนี้จะพร้อมทำงานในตอนที่ เราบิดลูกกุญแจสตาร์ท ไปอยู่ตำแหน่ง “ON” ซึ่งเมื่อคอยล์ทำงาน ก็จะส่งปริมาณไฟไปให้จานจ่าย ตัวจานจ่ายจะทำหน้าที่ แจกจ่ายกระแสไฟฟ้าปริมาณดังกล่าว ไปตามสายส่งกระแสไฟ เข้าสู่หัวเทียนแต่ละหัว และตัวจานจ่ายนี้เอง จะมีแกนเพลากลางหมุนได้ ซึ่งได้รับแรงหมุน มาจากกลไกของเพลาลูกเบี้ยว ในห้องเครื่องยนต์ หรืออาจจะได้รับแรงหมุน ถ่ายทอด มาจากกลไกของเพลาข้อเหวี่ยง (สำหรับเครื่องยนต์บางรุ่น)

เมื่อเครื่องยนต์หมุน แกนจานจ่ายก็จะหมุนตาม แกนนี้ก็จะมีกลไก สำหรับจ่ายไฟที่ได้รับมาจากคอยล์จุดระเบิด เข้าสู่ขั้วไฟแต่ละขั้ว (ที่ต่อกับสายไฟหัวเทียนแต่ละสาย) เมื่อมีการจ่ายไฟแรงสูงมาที่หัวเทียน ก็จะมีการครบวงจร ที่เขี้ยวหัวเทียน ทำให้เกิดประกายไฟ ในปลายจังหวัะอัดของลูกสูบ จึงเกิดระเบิดได้ เมื่อเครื่องยนต์ เริ่มหมุนแล้ว เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Alternator) ก็เริ่มทำงานตามการหมุนของเครื่องยนต์ โดยจ่ายกระแสไฟ ป้อนเข้าสู่แบตเตอรี่ และคอยจุดระเบิด จะเห็นว่า เมื่อเครื่องยนต์เริ่มทำงานงานแล้ว ตัวอัลเทอร์เนเตอร์ จะเป็นอุปกรณ์หลักที่สร้างกระแสไฟ ป้อนสู่อุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าต่างๆ ในรถยนต์

ระบบเครื่องยนต์ (Engine)

ระบบเครื่องยนต์ (Engine)

ระบบเครื่องยนต์เป็นต้นกำเนิดพลังการขับเคลื่อน ภายในเครื่องยนต์ จะมีอุปกรณ์ต่างๆ ทำงานประสานกัน เป็นจังหวะ ตามที่ผู้ผลิตได้กำหนดไว้ สำหรับรถยนต์ทั่วไปในปัจจุบัน ถ้าเป็นเครื่องยนต์ ประเภท ขับเคลื่อนล้อหน้าแล้ว โดยมากจะวางเครื่องในลักษณะแนวขวาง แต่ถ้าเป็นเครื่องยนต์ ประเภทขับเคลื่อนล้อหลัง จะวางเครื่องในลักษณะแนวตรง

 

 

 

หากมองตามลักษณะการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง รถที่ใช้น้ำมันเบ็นซินเป็นเชี้อเพลิง เรียกเครื่องยนต์ชนิดว่า “เครื่องยนต์แก๊สโซลีน” (Gasoline Engine) และรถที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง เรียกว่า “เครื่องยนต์ดีเซล” (Diesel Engine) อาจเรียกกันง่ายๆ ว่าเครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์ดีเซลก็ไม่ว่ากัน

เครื่องยนต์ในปัจจุบัน ใช้ลักษณะการจุดระเบิดในกระบอกสูบ เพื่อทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ไปในแนวตรงกันข้าม และด้านล่างของลูกสูบ ก็จะต่อกับก้านสูบ ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งของก้านสูบ ก็จะต่อกับเพลาข้อเหวี่ยงอีกที เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ไปมาในแนวลูกสูบ ก็จะมีผลให้ไปดึงเพลาข้อเหวี่ยงหมุนไปด้วย ยิ่งเคลื่อนที่เร็วเท่าไหร่ เพลาข้อเหวี่ยง ก็จะหมุนเร็วมากขึ้นเท่านั้น แรงหมุนนี้เองที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ในระบบรถยนต์ ลักษณะการทำงานแบบนี้เองที่เรียกว่า เครื่องยนต์ชนิดลูกสูบชัก

จะพบว่า บริษัทผลิตเครื่องยนต์ อาจมีเทคโนโยลี การผลิต ที่แตกต่างกันไปบ้าง ดังนั้น การออกแบบเครื่องยนต์ ก็แตกต่างกัน เป็นธรรมดา เครื่องยนต์บางแบบถูกออกแบบ ให้วางแนวกระบอกสูบ แตกต่างกันไป เช่น จัดวางกระบอกสูบแบบเรียง แบบตัววี แบบแนวนอน เป็นต้น

ระบบควบคุมไอเสีย (Exhaust-gas system)

ระบบควบคุมไอเสีย (Exhaust-gas system)

ปกติ เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน จะปล่อยไอเสียออกมาจากห้องเผาไหม้ของแต่ละกระบอกสูบ ไอเสียหลังการเผาไหม้ จะไหลออกจากห้องเผาไหม้ ผ่านท่อไอเสียประจำแต่ละสูบ แล้วมารวมกันที่ท่อร่วมไอเสีย จากนั้นจะไหลต่อไป จนถึงหม้อพักไอเสีย ก่อนจะปล่อยออกสู่บรรยากาศภายนอกรถ

ไอเสียที่เกิดขึ้นหลังการเผาไหม้ คือก๊าซพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ก๊าซที่ปล่อยออกมา มีส่วนผสมหลักของก๊าซ 3 ชนิดคือ ก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) , ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) , ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (Nox) ปริมาณไอเสียมาก-น้อย ที่เกิดขึ้น มาจากหลายสาเหตุเช่น ในขณะที่เครื่องยนต์เย็น การสตาร์ทติดเครื่องยนต์ จะต้องใช้ส่วนผสมของเชื้อเพลิงที่หนากว่าปกติ เพื่อช่วยให้สตาร์ทเครื่องติดง่าย และเมื่อเครื่องเริ่มทำงาน การเผาไหม้ จะทำให้เกิดตะกอนคาร์บอน ซึ่งบางส่วนจะสะสมอยู่ในห้องเผาไหม้ ส่วนหนึ่ง จะกลายเป็น ก๊าซไฮโดรคาร์บอน ไหลออกไปเป็นไอเสีย

นอกจากนี้ การจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ ยังมีโอกาส ที่จะทำให้เชื้อเพลิงบางส่วน ที่หลงเหลือจากการจุดระเบิด เล็ดลอดผสมออกจากห้องเผาไหม้ ออกไปเป็นไอเสียด้วย จากเหตุการเหล่านี้ เครื่องยนต์บางรุ่น จึงมีระบบการไหลเวียนไอเสีย EGR (Exhaust-gas recirculation) เพื่อดักเอาไอเสียส่วนหนึ่ง ย้อนกลับไป ผสมกับไอดี เพื่อส่งเข้าห้องเผาไหม้อีกครั้ง

ระบบชาร์จไฟประจุ (Charging System)

ระบบชาร์จไฟประจุ (Charging System)

อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นี้คือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Alternator) ติดตั้งอยู่บริเวณด้านข้างของเครื่องยนต์ ทำงานโดย ได้รับแรงฉุดของสายพาน ซึ่งคล้องไปกับพูลเล่ย์ของปั้มน้ำ และพูลเล่ย์เพลาข้อเหวี่ยง เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ อัลเทอร์เนเตอร์จะเริ่มทำงานโดยการสร้างไฟฟ้ากระแสสลับออกมา จากนั้น ก็จะเข้าสู่อุปกรณ์อิเล็คทรอนิค เช่นไดโอท (Diode) และวงจรควบคุมแรงดันไฟฟ้า จนออกมาเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ทำการจ่ายกระแสไฟ ไปหล่อเลี้ยง ระบบจุดระเบิด, ชาร์จไฟเข้าแบเตอรี่ และอุปกรณ์ที่ต้องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่นไฟส่องสว่าง วิทยุติดระยนต์

การบริการแอร์รถยนต์

แอร์รถยนต์มีใช้มานาน เมื่อก่อน ใช้น้ำยาแอร์ r12 ซึ่งราคาถูกและมีผลเสียต่อบัญญากาศ ต่อมา มีการพัฒนามาใช้ r134a แต่ก็แพงกว่าเดิมมาก

ปัญหาจึงเกิดขึ้น แท้จริงแล้ว น้ำยาทั้งสองชนิดสามารถทำความเย็นไม่ต่างกันมากนัก แต่ถ้าระบบเดิมใช้ r134a  แล้วน้ำยาแอร์ลดลง ช่างมักง่าย หรือขี้โกง ก็จะเติมr12 มันก็จะไม่เย็น

ถ้าเดิม รถใช้ r12  อยู่แล้วจะเปลี่ยนเปลี่ยนเป็น r 134a  ได้ไหม ได้ แต่มันง่ายเกินไปที่จะแค่ปล่อยออก แล้วเติมใหม่ ท่านต้องเปลี่ยนน้ำมันคอมแอร์ และโอริงด้วยส่วนอื่นๆใช้ของเดิมได้

ก่อนเติมต้องมีการแวคเอาอากาศและความชื้นออกก่อน โดยทั่วไป 30-60 นาที น้ำมันที่เติม ใช้ 6-10 ออนซ์

เติม เร่งเครื่อง แถว1500-2000 รอบ ให้ low 15-30 ปอด์ hi 200-300 ปอด์น  พร้อมทั้ง  ดรายเออร์ เปลี่ยนจากฟองมาเป็นน้ำใสๆ ทุครั้งที่ทีการทำระบบใหม่ ควรเปลี่ยนดรายเออร์ด้วยทุกครั้ง

โดย น.พ. ธงชัย เสรีรัตน์

ออกซิเจนเซอร์ คืออะไร

ความรู้เรื่อง ออกซิเจนเซนเซอร์
อะไรคือ O2 Sensor หรือบางคนอาจจะเรียกว่า Lambda Sensor

O2 หรือ Oxygen (ออกซิเจน) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O2 และมักเรียกว่า free oxygen
O2 Sensor คือตัววัดค่าของออกซิเจนในไอเสียที่ท่อไอเสีย เพื่อใช้ในการตรวจสอบว่าการเผาไหม้นั้นสมบูรณ์หรือไม่
และจะทำการ feed back ค่ากลับไปยัง ECU เพื่อเพิ่ม-ลงการจ่ายน้ำมัน

มาดูคำที่จะมาเกี่ยวข้องก่อนนะครับ จะได้เข้าใจความหมายแต่ละคำกันก่อน
– A/F หรือ AFR ก็มาจากคำว่า Air Fuel Ratio คืออัตราส่วนผสมระหว่างอากาศและเชื้อเพลิง
ซึ่งสัดส่วนที่เหมาะสมที่สุดที่จะทำให้การสันดาปหรือการระเบิดในกระบอกนั้นสมบูรณ์ที่สุดคือ คือ 14.7: 1
นั่นคือมวลอากาศ 14.7 กรัม ต่อมวลน้ำมัน 1 กรัม
– Stoich คือคำที่ใช้เรียกค่า A/F ที่เท่ากับ 14.7 ซึ่งเป็นสันส่วนที่พอเหมาะ
– Lean ถ้าค่า A/F มากกว่า 14.7 มาก จะเรียกว่า Lean หรือน้ำมันน้อย(บาง)ไป
– Rich ถ้าค่า A/F น้อยกว่า 14.7 มาก จะเรียกว่า Rich หรือน้ำมันมาก(หนา)ไป
– Lambda ก็เป็นการแสดงค่า Air Fuel Ratio อีกรูปแบบหนึ่งครับ โดยค่า Lambda จะหาได้จากสูตร
Lambda = AFR / Stoich(14.7) ซึ่งถ้า ค่า AFR = 14.7 ก็จะได้ค่า Lambda =1 โดยที่
ค่า Lambda นี้หมายถึงการสันดาปสมบูรณ์ที่สุด

แต่ถ้า Lambda น้อยกว่า 1 ก็จะเป็น Rich และถ้า Lambda มากกว่า 1 ก็จะเป็น Lean

ชนิด O2 Sensor
O2 sensor แบ่งเป็น 2 ชนิดครับ คือ
1. Narrow band O2 sensor
– เป็น O2 sensor ที่ราคาไม่แพง
– โดยส่วนใหญ่จะให้ Output 0-1 โวลล์ แต่ในช่วง A/F ที่น้อยกว่า14 และมากกว่า 15 มันแทบจะใช้งานไม่ได้เลย
– มีอายุการใช้งานนาน

2. Wide band O2 sensor
– ราคาแพงกว่าแบบแรก
– โดยส่วนใหญ่จะให้ Output 0-5 โวลล์
– มีความถูกต้องและละเอียดสูง
– อายุการใช้งานสั้นกว่า narrow band

ทั้ง narrow band และ wide band ก็ทำหน้าที่เหมือนกัน คือวัดปริมาณออกซิเจนที่เหลือจากการเผาไหม้ แต่สิ่งที่ต่างกันคือ เรื่องของความละเอียดในการวัด ซึ่งแบบ narrow band จะเป็นแบบที่ติดมากันรถ จะให้ค่าของกราฟที่ไม่ละเอียดพอและไม่เป็นเชิงเส้น(linear) อาจจะวัดค่า A/F ได้แค่ช่วง 14.7 +- 1.5 เท่านั้น ส่วนแบบ wide band จะให้กราฟออกมาเป็นเชิงเส้น สามารถที่จะคาดเดาค่าล่วงหน้าได้ในการเปลี่ยนแปลง A/F ทำให้นิยมใช้ O2 sensor ชนิดนี้เพื่อการ Tune รถได้ละเอียดขึ้นครับ

O2 Sensor มีทั้งแบบ 1, 2, 3, 4 และ 5 สาย(สายไฟ-สายปลั๊ก)ครับ โดยที่ขึ้นอยู่กับการออกแบบครับ อธิบายเอาง่ายๆ ตามนี้แล้วกันครับ ตามๆที่ผมค้นเจอนะถูกผิดก็ขออภัยด้วย
1-2 สาย ส่วนใหญ่จะเป็น O2 sensor แบบ narrow band ที่ไม่มี heater ในตัว จะอาศัยความร้อนภายในท่อไอเสียครับ ส่วนใหญ่จะติดตั้งอยู่บริเวณ header ครับ
3-4 สาย ส่วนใหญ่ก็จะเป็น O2 sensor แบบ narrow band เช่นกัน แต่มี heater ในตัว ติดตั้งก็บริเวณแคตฯครับ
5 สาย ตัวนี้จะเป็น wide band แบบมี heater ในตัว

ปล.ในส่วนของ wide band มันก็ไม่ใช่ 5 เส้นเสมอไปนะครับ 4 เส้นบางคนว่ามี 6 เส้นบางคนบอกเคยเห็น ก็ไม่ต้องยึดจำตรงส่วนนี้ครับ

การบำรุงรักษา O2 Sensor
ข้อมูล ในส่วนตรงนี้มันค่อนข้างจะไม่แน่นอนครับ ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ, รุ่นของ sensor และตามการใช้งานครับ ผมขออ้างอิงตามของ Bosch แล้วกันครับ โดย O2 sensor ควรตรวจสอบทุกๆ 30,000 กม. และควรเปลี่ยนตามระยะเวลาที่กำหนด
ระยะการใช้งานตามประเภทเซ็นเซอร์
– Unheated: ทุกๆ 50,000 กม. / ทุกๆ 80,000 กม.
– Heated 1st generation: ทุกๆ 100,000 กม.
– Heated 2nd generation: ทุกๆ 160,000 กม
– Planar sensors: ทุกๆ 160,000 กม.

การตรวจเช็ค ดี-เสีย ของ O2 Sensor
บางคน(รวมถึงผมด้วย) อาจจะสงสัยว่า O2 sensor ที่ใช้อยู่ตอนนี้ดีหรือเพี้ยนหรือว่าเสียไปเลย

O2 sensor ตัวนี้ที่หลายๆคน(ผมด้วยอีกแล้ว  )มองข้างมันไปมันมีผลต่อเครื่องยนต์มากต่อการจ่ายน้ำมัน ถ้าเกิดว่าตัวนี้เกิดอาการเพี้ยนหรือเสียแล้วก็จะไม่สามารถเช็คได้ว่า A/F เหมาะสมหรือไม่
การเกิดการเสียหรือเพี้ยน อาการที่พบส่วนใหญ่ก็คือ”รถกินน้ำมันมากขึ้นและกำลังเครื่องตก” เนื่องจากสัญญาณที่ได้จาก O2 sensor จะบอกว่ามีออกซิเจนที่หลงเหลือจากการเผาไหม้มาก ทำให้กล่องมีการสั่งให้ฉีดน้ำมันเพิ่มมากขึ้นและมันจะค่อยๆมากขึ้น
เรื่อยๆ ก็จะทำให้การเผาไหม้น้ำมันไม่หมดออกที่ทางท่อไอเสีย ก็จะทำให้เราได้กลิ่นน้ำมันครับ (ตรงนี้ล่ะครับที่เป็นสิ่งที่บอกเราได้บ้างว่าการเผาไหม้ไม่หมดจด เนื่องจากน้ำมันหนามาก) อื้ม !! และทำให้แคตฯ อายุสั้นด้วยครับ

กลับเข้าเรื่องอีกทีครับ มาดูกันเลยกับ 3 อาการ
– ดี อันนี้ก็ไม่ต้องพูดมากครับ ถ้าเบิกมาใหม่ๆ ใส่แล้วไฟ engine ไม่โชว์, ไม่มีกลิ่นน้ำมันออกท่อไอเสีย, เครื่องทำงานปกติ เป็นแบบนี้ก็ถือว่าดีไว้ก่อน
– เสีย อันนี้ก็แน่นอนครับ เพราะส่วนใหญ่ไฟ engine จะโชว์ โดยการตรวจสอบของกล่อง ECU จะมีการตรวจสอบแบบง่ายๆ คือ ขาด – ช็อต – หลุด range
หมายเหตุ : “หลุด range” เนื่องจาก O2 sensor ที่ใช้เป็นแบบ narrow band จะให้เส้นกราฟที่ชันในช่วง Stoich (A/F=14.7) หากวัด A/F ได้น้อยกว่า 14 มากๆ ก็จะถือว่าช็อต แต่ถ้าวัด A/F ได้มากกว่า 15 มากๆ ก็จะถือว่าขาดครับ (งงกันมั้ย)
– เพี้ยน นี่ล่ะครับตัวปัญหาเลย ถ้าไฟ engine ขึ้นบ้างไม่ขึ้นบ้างก็แสดงว่ามันเริ่มจะหลุด range แล้ว สาเหตุก็อาจจะมาจากคราบสกปรกที่เกาะอยู่ที่หัว O2 sensor หรือ O2 sensor จะสิ้นอายุขัยแล้วครับ (ได้เวลาเสียเงินอีกแล้ว)

ความรู้เรื่อง ออกซิเจนเซนเซอร์ ครับ
http://www.thaiagclub.com/home/index.php?topic=1183.0

ที่มา:EK Group /Rcweb.net และ www.thaiagclub.com

วิธีตรวจเช็ค อ็อกซิเจนเซนเซอร์
Oxygen Sensor Information
http://mr2.com/TEXT/O2_Sensor.html

O2 Sensor Diagnosis
http://www.jnc.farpost.com/data/o2_diag.txt

ที่นี้มาเริ่มการตรวจเช็คกันเลยครับ
มาดู Schematic (วงจรเสมือน) ของ O2 Sensor กันก่อนครับ ภายในจะมีฮีทเตอร์อยู่ด้วยโดย O2 Sensor
จะทำงานอยู่ในช่วงอุณหภูมิ ประมาณ 230-320 องศาเซลเซียส และจะให้แรงดันออกมาทางขา sensor
ซึ่งแรงดันที่ออกมาจะอยู่ในช่วง 0-1