แปลงแอร์ benz190

แปลง air ben190e เดิมแพง ทั้งมี เซ็นต์เ็ซอร์ท้ายคอมอีก ช่างทั่วไปส่ายหัว

แต่เรา สนุกครับ

เลือกคอมญี่ปุนสภาพดี ทำความสะอาด เปลี่ยน ลูกปืน เสียเวลาครับร้านอื่นจับยัดใส่เลย

แปลงเสร็จแล้ว

ยังไม่เสร็จต้องแปรตัวคุมความเ็นแบบอิเลขโทรนิคใหม่อีก

ครานี้เสียครั้งต่อไป ก็ราคาญี่ปุ่นแล้วครับ

ประวัติผู้ดำเนินกิจการ

นพ.ธงชัย เสรีรัตน์ บุตรนายขจิต-นางสุภาพร เสรีรัตน์

จบการศึกษาชั้นประถมจากรร.อนุบาลร้อยเอ็ด

และชั้นมัธยมศึกษาจากรร.สาธิตปทุมวัน จากนั้นเข้าศึกษาต่อคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ รุ่น49

และเรียนต่อเฉพาะทางสาขาจิตเวชศาสตร์  แต่ด้วยความที่เป็นคนที่ชอบขวนขวายหาความรู้อยู่เสมอนอกจากเรื่องเครื่องยนตร์และคอมพิวเตอร์แล้ว

ยังจบปริญญาเพิ่มอีกสองสาขาคือสาขาการตลาด และสาขานิติศาสตร์ ม.สุโขทัย

ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงานจิตเวช(นายแพทย์ 8) และหัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์  รพ.ร้อยเอ็ด

มีภรรยาคือพญ.ญาดา เสรีรัีตน์ ที่คอยให้กำลังใจและสนับสนุนอยู่เสมอ และกำลังจะมีบุตรด้วยกัน 1 คน

 

การบริการแอร์รถยนต์

แอร์รถยนต์มีใช้มานาน เมื่อก่อน ใช้น้ำยาแอร์ r12 ซึ่งราคาถูกและมีผลเสียต่อบัญญากาศ ต่อมา มีการพัฒนามาใช้ r134a แต่ก็แพงกว่าเดิมมาก

ปัญหาจึงเกิดขึ้น แท้จริงแล้ว น้ำยาทั้งสองชนิดสามารถทำความเย็นไม่ต่างกันมากนัก แต่ถ้าระบบเดิมใช้ r134a  แล้วน้ำยาแอร์ลดลง ช่างมักง่าย หรือขี้โกง ก็จะเติมr12 มันก็จะไม่เย็น

ถ้าเดิม รถใช้ r12  อยู่แล้วจะเปลี่ยนเปลี่ยนเป็น r 134a  ได้ไหม ได้ แต่มันง่ายเกินไปที่จะแค่ปล่อยออก แล้วเติมใหม่ ท่านต้องเปลี่ยนน้ำมันคอมแอร์ และโอริงด้วยส่วนอื่นๆใช้ของเดิมได้

ก่อนเติมต้องมีการแวคเอาอากาศและความชื้นออกก่อน โดยทั่วไป 30-60 นาที น้ำมันที่เติม ใช้ 6-10 ออนซ์

เติม เร่งเครื่อง แถว1500-2000 รอบ ให้ low 15-30 ปอด์ hi 200-300 ปอด์น  พร้อมทั้ง  ดรายเออร์ เปลี่ยนจากฟองมาเป็นน้ำใสๆ ทุครั้งที่ทีการทำระบบใหม่ ควรเปลี่ยนดรายเออร์ด้วยทุกครั้ง

โดย น.พ. ธงชัย เสรีรัตน์

ออกซิเจนเซอร์ คืออะไร

ความรู้เรื่อง ออกซิเจนเซนเซอร์
อะไรคือ O2 Sensor หรือบางคนอาจจะเรียกว่า Lambda Sensor

O2 หรือ Oxygen (ออกซิเจน) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O2 และมักเรียกว่า free oxygen
O2 Sensor คือตัววัดค่าของออกซิเจนในไอเสียที่ท่อไอเสีย เพื่อใช้ในการตรวจสอบว่าการเผาไหม้นั้นสมบูรณ์หรือไม่
และจะทำการ feed back ค่ากลับไปยัง ECU เพื่อเพิ่ม-ลงการจ่ายน้ำมัน

มาดูคำที่จะมาเกี่ยวข้องก่อนนะครับ จะได้เข้าใจความหมายแต่ละคำกันก่อน
– A/F หรือ AFR ก็มาจากคำว่า Air Fuel Ratio คืออัตราส่วนผสมระหว่างอากาศและเชื้อเพลิง
ซึ่งสัดส่วนที่เหมาะสมที่สุดที่จะทำให้การสันดาปหรือการระเบิดในกระบอกนั้นสมบูรณ์ที่สุดคือ คือ 14.7: 1
นั่นคือมวลอากาศ 14.7 กรัม ต่อมวลน้ำมัน 1 กรัม
– Stoich คือคำที่ใช้เรียกค่า A/F ที่เท่ากับ 14.7 ซึ่งเป็นสันส่วนที่พอเหมาะ
– Lean ถ้าค่า A/F มากกว่า 14.7 มาก จะเรียกว่า Lean หรือน้ำมันน้อย(บาง)ไป
– Rich ถ้าค่า A/F น้อยกว่า 14.7 มาก จะเรียกว่า Rich หรือน้ำมันมาก(หนา)ไป
– Lambda ก็เป็นการแสดงค่า Air Fuel Ratio อีกรูปแบบหนึ่งครับ โดยค่า Lambda จะหาได้จากสูตร
Lambda = AFR / Stoich(14.7) ซึ่งถ้า ค่า AFR = 14.7 ก็จะได้ค่า Lambda =1 โดยที่
ค่า Lambda นี้หมายถึงการสันดาปสมบูรณ์ที่สุด

แต่ถ้า Lambda น้อยกว่า 1 ก็จะเป็น Rich และถ้า Lambda มากกว่า 1 ก็จะเป็น Lean

ชนิด O2 Sensor
O2 sensor แบ่งเป็น 2 ชนิดครับ คือ
1. Narrow band O2 sensor
– เป็น O2 sensor ที่ราคาไม่แพง
– โดยส่วนใหญ่จะให้ Output 0-1 โวลล์ แต่ในช่วง A/F ที่น้อยกว่า14 และมากกว่า 15 มันแทบจะใช้งานไม่ได้เลย
– มีอายุการใช้งานนาน

2. Wide band O2 sensor
– ราคาแพงกว่าแบบแรก
– โดยส่วนใหญ่จะให้ Output 0-5 โวลล์
– มีความถูกต้องและละเอียดสูง
– อายุการใช้งานสั้นกว่า narrow band

ทั้ง narrow band และ wide band ก็ทำหน้าที่เหมือนกัน คือวัดปริมาณออกซิเจนที่เหลือจากการเผาไหม้ แต่สิ่งที่ต่างกันคือ เรื่องของความละเอียดในการวัด ซึ่งแบบ narrow band จะเป็นแบบที่ติดมากันรถ จะให้ค่าของกราฟที่ไม่ละเอียดพอและไม่เป็นเชิงเส้น(linear) อาจจะวัดค่า A/F ได้แค่ช่วง 14.7 +- 1.5 เท่านั้น ส่วนแบบ wide band จะให้กราฟออกมาเป็นเชิงเส้น สามารถที่จะคาดเดาค่าล่วงหน้าได้ในการเปลี่ยนแปลง A/F ทำให้นิยมใช้ O2 sensor ชนิดนี้เพื่อการ Tune รถได้ละเอียดขึ้นครับ

O2 Sensor มีทั้งแบบ 1, 2, 3, 4 และ 5 สาย(สายไฟ-สายปลั๊ก)ครับ โดยที่ขึ้นอยู่กับการออกแบบครับ อธิบายเอาง่ายๆ ตามนี้แล้วกันครับ ตามๆที่ผมค้นเจอนะถูกผิดก็ขออภัยด้วย
1-2 สาย ส่วนใหญ่จะเป็น O2 sensor แบบ narrow band ที่ไม่มี heater ในตัว จะอาศัยความร้อนภายในท่อไอเสียครับ ส่วนใหญ่จะติดตั้งอยู่บริเวณ header ครับ
3-4 สาย ส่วนใหญ่ก็จะเป็น O2 sensor แบบ narrow band เช่นกัน แต่มี heater ในตัว ติดตั้งก็บริเวณแคตฯครับ
5 สาย ตัวนี้จะเป็น wide band แบบมี heater ในตัว

ปล.ในส่วนของ wide band มันก็ไม่ใช่ 5 เส้นเสมอไปนะครับ 4 เส้นบางคนว่ามี 6 เส้นบางคนบอกเคยเห็น ก็ไม่ต้องยึดจำตรงส่วนนี้ครับ

การบำรุงรักษา O2 Sensor
ข้อมูล ในส่วนตรงนี้มันค่อนข้างจะไม่แน่นอนครับ ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ, รุ่นของ sensor และตามการใช้งานครับ ผมขออ้างอิงตามของ Bosch แล้วกันครับ โดย O2 sensor ควรตรวจสอบทุกๆ 30,000 กม. และควรเปลี่ยนตามระยะเวลาที่กำหนด
ระยะการใช้งานตามประเภทเซ็นเซอร์
– Unheated: ทุกๆ 50,000 กม. / ทุกๆ 80,000 กม.
– Heated 1st generation: ทุกๆ 100,000 กม.
– Heated 2nd generation: ทุกๆ 160,000 กม
– Planar sensors: ทุกๆ 160,000 กม.

การตรวจเช็ค ดี-เสีย ของ O2 Sensor
บางคน(รวมถึงผมด้วย) อาจจะสงสัยว่า O2 sensor ที่ใช้อยู่ตอนนี้ดีหรือเพี้ยนหรือว่าเสียไปเลย

O2 sensor ตัวนี้ที่หลายๆคน(ผมด้วยอีกแล้ว  )มองข้างมันไปมันมีผลต่อเครื่องยนต์มากต่อการจ่ายน้ำมัน ถ้าเกิดว่าตัวนี้เกิดอาการเพี้ยนหรือเสียแล้วก็จะไม่สามารถเช็คได้ว่า A/F เหมาะสมหรือไม่
การเกิดการเสียหรือเพี้ยน อาการที่พบส่วนใหญ่ก็คือ”รถกินน้ำมันมากขึ้นและกำลังเครื่องตก” เนื่องจากสัญญาณที่ได้จาก O2 sensor จะบอกว่ามีออกซิเจนที่หลงเหลือจากการเผาไหม้มาก ทำให้กล่องมีการสั่งให้ฉีดน้ำมันเพิ่มมากขึ้นและมันจะค่อยๆมากขึ้น
เรื่อยๆ ก็จะทำให้การเผาไหม้น้ำมันไม่หมดออกที่ทางท่อไอเสีย ก็จะทำให้เราได้กลิ่นน้ำมันครับ (ตรงนี้ล่ะครับที่เป็นสิ่งที่บอกเราได้บ้างว่าการเผาไหม้ไม่หมดจด เนื่องจากน้ำมันหนามาก) อื้ม !! และทำให้แคตฯ อายุสั้นด้วยครับ

กลับเข้าเรื่องอีกทีครับ มาดูกันเลยกับ 3 อาการ
– ดี อันนี้ก็ไม่ต้องพูดมากครับ ถ้าเบิกมาใหม่ๆ ใส่แล้วไฟ engine ไม่โชว์, ไม่มีกลิ่นน้ำมันออกท่อไอเสีย, เครื่องทำงานปกติ เป็นแบบนี้ก็ถือว่าดีไว้ก่อน
– เสีย อันนี้ก็แน่นอนครับ เพราะส่วนใหญ่ไฟ engine จะโชว์ โดยการตรวจสอบของกล่อง ECU จะมีการตรวจสอบแบบง่ายๆ คือ ขาด – ช็อต – หลุด range
หมายเหตุ : “หลุด range” เนื่องจาก O2 sensor ที่ใช้เป็นแบบ narrow band จะให้เส้นกราฟที่ชันในช่วง Stoich (A/F=14.7) หากวัด A/F ได้น้อยกว่า 14 มากๆ ก็จะถือว่าช็อต แต่ถ้าวัด A/F ได้มากกว่า 15 มากๆ ก็จะถือว่าขาดครับ (งงกันมั้ย)
– เพี้ยน นี่ล่ะครับตัวปัญหาเลย ถ้าไฟ engine ขึ้นบ้างไม่ขึ้นบ้างก็แสดงว่ามันเริ่มจะหลุด range แล้ว สาเหตุก็อาจจะมาจากคราบสกปรกที่เกาะอยู่ที่หัว O2 sensor หรือ O2 sensor จะสิ้นอายุขัยแล้วครับ (ได้เวลาเสียเงินอีกแล้ว)

ความรู้เรื่อง ออกซิเจนเซนเซอร์ ครับ
http://www.thaiagclub.com/home/index.php?topic=1183.0

ที่มา:EK Group /Rcweb.net และ www.thaiagclub.com

วิธีตรวจเช็ค อ็อกซิเจนเซนเซอร์
Oxygen Sensor Information
http://mr2.com/TEXT/O2_Sensor.html

O2 Sensor Diagnosis
http://www.jnc.farpost.com/data/o2_diag.txt

ที่นี้มาเริ่มการตรวจเช็คกันเลยครับ
มาดู Schematic (วงจรเสมือน) ของ O2 Sensor กันก่อนครับ ภายในจะมีฮีทเตอร์อยู่ด้วยโดย O2 Sensor
จะทำงานอยู่ในช่วงอุณหภูมิ ประมาณ 230-320 องศาเซลเซียส และจะให้แรงดันออกมาทางขา sensor
ซึ่งแรงดันที่ออกมาจะอยู่ในช่วง 0-1

 

c220

ติดแก๊ส หัวฉีด ag

เดินสายไฟห้องเครื่องใหม่

แปลงปั้มติ้ก benz  เป็น  toyota

เปลี่ยกล่อง ecu ใหม่ พร้อมเพิ่มแผงระบายความร้อนให้กล่อง

แปลง relay over voltage relay

หัวฉีดแก๊ส ผ่าแบ่งครึ่งเพื่อความสมมารถ จะมีใครกล้าทำเหรอ

 

เดินสายไฟในห้องเครื่องใหม่ ของเดิมผุ จนกล่องพัง

ติดตั้ง tap เพิ่มองศาจุดระเบิดสำหรับรถใช้แก๊ส

ติดต่อ ดูแผนที่

ร้าน dr-car

ตั้งอยู่ในซอยติดร้านสหไพบูลย์ 497/1-3   ซ คุ้มไทย  ถ ผดุงพาณิช ต ในเมือง อ เมือง จ ร้อยเอ็ด 45000

เข้าไป 20เมตรอยู่ด้านขวา

tel  น.พ.  ธงชัย เสรีรัตน์  0868612999   mdbird@hotmail.com 

ดูแผนที่จาก google map

 

 

ทางเข้าถ้ามาจากโพนทอง

ทางเข้ามาจาก บึง หรือ ธ. กสิกร

 

ทางเข้าจากบึง

 

ปากซอย

ปากซอย

 

หน้าอู่

หน้อู่

นโยบาย

ไม่ชอบอู่ที่ ฟันลูกค้า บวกค่าอะไหล่แพงๆ ค่าแรงถูกๆ

เบื่ออู่ที่คิดว่าลูกค้าโง่ หลอกนั้นนี่ สมัยนี้มี internet เขาเช็คได้หมดละว่าของราคาเท่าไหร่

แล้วจะไปหลอกเขาทำไหม ค่าจ้างช่างแพงก็คิดค่าแรงแพงซิ อย่าไปบวกค่าของมาก อู่ทั่วไป ไม่ไช่ร้อยละ 10-20

แต่บางทีของแพงๆยังฟัน ร้อยละ 200-300 เลยทีเดียว

ต้องถามลูกค้าก่อนค่อยซ่อม ของไม่เสีย ก็ไม่เสียคิดค่าแรงไป

งานไม่ดีเราไม่ปล่อยไปถึงมือลูกค้า

ไม่มีหมกเม็ด ได้ก็ว่าได้ ไม่ได้ก็ว่าไม่ได้

ใช้เครื่องวิเคราะแบบ คอมพิวเตอร์ ไม่เดา ทำอย่างมีหลักการ

เครื่องมือเราพร้อมสำหรับรุ่นใหม่ๆ ไม่ว่า obdi toyoat obd ii รถทั่วไป

carsoft star สำหรับbenz โดยเฉพาะ แลมด้า วัดส่วนผสมน้ำมันกับอากาศ มิติเตอร์

มัลติมิเตอร์ สายจูนแก๊สหลายรุ่น

อยากแรงมาที่เรา