ค่า A/R ที่ระบุในเสปกเทอร์โบ คืออะไร

ค่า A/R ที่ระบุในเสปกเทอร์โบ คืออะไร


ค่า A/R หมายถึง อัตราส่วนคอคอดที่บอกขนาดภายในของโข่งไอเสียเทอร์โบ ว่ามีขนาดของช่องที่จะรีดไอเสียที่จะไปปั่นเทอร์ไบน์ กังหันไอเสียหรือเทอร์ไบน์ที่มีขนาดเท่ากัน สามารถกำหนดอัตรารอบการหมุนให้ช้าหรือเร็วได้ ถึงแม้ว่าไอเสียจะมีมวลเท่าเดิม และกังหันไอเสียเท่าเดิม แต่สามารถเพิ่มหรือลดรอบการหมุนของกังหันไอเสียได้ด้ วยโดยใช้อัตราส่วน A/R นี้
ค่า A คือพื้นที่หน้าตัดของช่องปลายสุดของท่อรีดของโข่งไอเ สีย ถ้ามองจากปากเข้าไป
ค่า R คือ รัศมีจากจุดศูนย์กลางของเทอร์ไบน์ถึงกลางพื้นที่หน้า ตัดของช่องปลายสุดของท่อรีดไอเสียของโข่งไอเสีย

ค่า A/R ในขนาดเทอร์ไบน์เดียวกัน ถ้า A/R มีค่าน้อย(คอคอดเล็ก) แสดงว่ามีการรีดไอเสียมาก (กังหันไอเสียจะหมุนเร็ว) เป็นการเพิ่มความเร็ว ให้เทอร์ไบน์หมุนเร็ว บูสท์มาเร็ว อัตราส่วน A/R มีค่ามาก (คอคอดใหญ่) กังหันไอเสียก็จะหมุนช้า
ขนาดของคอคอดบริเวณทางเข้าภายในโข่งไอเสียมีขีด จำกัด อยู่ที่ แรงดันย้อนกลับ
ถ้าคอคอดเล็กเกินไป (อัตราส่วน A/R ต่ำเกินไป) ไอเสียที่เข้าไปปั่นกังหันไอเสียจะมีความเร็วสูง มีการตอบสนองต่ออัตราเร่งของบูสท์ได้เร็ว แต่ความร้อนสะสมในตัวเทอร์โบก็จะสูงและเกิดแรงดันย้อ นกลับในระบบไอเสียมาก
ส่วน คอดใหญ่เกินไป (อัตราส่วน A/R มีค่ามากเกินไป) การตอบสนองต่ออัตราการเร่งของบูสท์เทอร์โบจะช้า แต่ความร้อนสะสมในตัวเทอร์โบจะน้อยกว่าการระบายของไอ เสียจะไม่เกิดแรงดันย้อนกลับมาก การสร้างแรงดันเสริมหรือบูสท์จะช้า จะบูสท์ที่รอบสูง เรียกว่ามีการรอรอบมาก
ขนาดของเทอร์โบ ?

เทอร์โบ จะทำงานตามปริมาณไอเสีย ไม่ได้ทำงานเฉพาะความเร็วสูง ถ้าใช้เทอร์โบเล็ก(จะ BOOSTแถวๆ 7-10 ปอนด์ โดยไม่ต้องพึ่ง Intercooler แต่ถ้ามี intercooler ก็จะช่วยลดความร้อนได้ส่วนหนึ่ง) กังหันไอเสียหมุนเร็วตั้งแต่รอบเครื่องยนต์ต่ำ อัดอากาศได้เร็ว แต่ในรอบสูงจะตื้อ เพราะไอเสียไหลได้ไม่ทัน เทอร์โบตัวใหญ่ สร้างแรงดันได้ช้า รอรอบนาน แต่ไอเสียไหลคล่อง จึงควรใช้เทอร์โบขนาดพอเหมาะกับซีซีของเครื่องยนต์ (ไม่ควรเลือกเทอร์โบที่เล็กหรือใหญ่กว่าเครื่องยนต์ท ี่จะนำเทอร์โบไปติดตั้งเกินกว่า 200-300 ซีซี)
การเอาเทอร์โบตัวเล็กกว่า ความเหมาะสมมาใส่ในเครื่องย นต์ ก็ทำให้บูสท์มาเร็ว และมีอาการอั้นที่รอบสูงๆ ได้มาไม่เต็มที่ และถ้าแช่ยาวๆ อาจจะเกิดการโอเวอร์ฮีทได้ และไม่แรงเท่าที่ควรเนื่องจากไอดีมีมวลน้อยเพราะกังห ันไอดีมีขนาดเล็ก
การ เอาเทอร์โบใหญ่กว่าความเหมาะสมมาใส่ จะทำให้มีอาการรอรอบแต่ก็ไม่มีปัญหาโอเวอร์ฮีท เพียงแต่ว่าจะได้ใช้ม้าไม่บ่อยนัก เพราะบูสท์จะมารอบสูงๆ หรือเกียร์สูงๆ

การ ติดตั้งเทอร์โบเพิ่มเข้าไปในเครื่องยนต์ดีเซล ส่วนใหญ่ไม่ต้องมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต ์ แต่ควรใช้แรงดันของอากาศ (บูสต์) ไม่เกิน 5-7 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว และถ้ามีการแต่งปั๊มจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มก็จะดี ขึ้นไปอีก
อัตรา ส่วนกำลังอัด กับ เทอร์โบ ?

อัตราส่วนกำลังอัด (Compression Ratio) มีความสำคัญต่อการทำงานของเครื่องยนต์ที่ติดตั้งเทอร ์โบมาก เครื่องยนต์ที่ติดตั้งเทอร์โบจำเป็นต้องมีอัตราส่วน กำลังอัดต่ำกว่าเครื่องยนต์ปกติ เพราะว่าเครื่องที่ติดตั้งเทอร์โบอัตราส่วนกำลังอัดข องการประจุไอดีเมื่อลูกสูบเลื่อนสู่ศูนย์ตายบนในจังห วะอัด ไอดีที่ถูกอัด จะมีมากกว่าอัตราปกติ ดังนั้นไอดีจึงมีมวลมากกว่าเครื่องยนต์ปกติ ถ้าเครื่องยนต์มีอัตราส่วนกำลังอัดสูงเกินขอบเขตของค วามเหมาะสม ไอดีที่ถูกอัดตัวแน่นก็จะเกิดความร้อนสูงกว่าปกติ และทำให้เครื่องยนต์เกิดการน็อก (ชิงจุดระเบิด) ได้ ดังนั้นเครื่องยนต์ที่ติดตั้งเทอร์โบจึงต้องมีอัตราส ่วนกำลังอัด ต่ำกว่าเครื่องยนต์ปกติ เมื่อถึงจังหวะอัดจะได้ไม่เกิดการน็อก ซึ่งถ้าเกิดการน็อกอย่างรุนแรง ลูกสูบ ก้านสูบ ก็จะได้รับความเสียหาย อัตราส่วนกำลังอัดที่เหมาะกับเครื่องยนต์เทอร์โบ ที่มีการควบคุมแรงดันเสริม (บูสท์) ไม่เกิน 7-10 PSI ควรจะมีอัตราส่วนกำลังอัดไม่เกิน 7.5 : 1 ? 9.0 : 1 วิธีลดอัตราส่วนกำลังอัด ก็สามารถทำได้โดยการเพิ่มปริมาตรห้องเผาไหม้ เช่น เพิ่มความหนาของประเก็นฝาสูบ โดยสั่งตัดพิเศษ หรือ นำมาซ้อนกันสองชั้น ในขณะเดียวกันถ้ากำลังอัดต่ำเกินไป ก็จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง และเครื่องยนต์ไม่มีกำลัง
น้ำมันเครื่องที่มาหล่อลื่นเทอรโบ มาจากไหน ?

สำหรับ เทอร์โบที่ติดตั้งเพิ่มเติม นิยมต่อมาใช้จากสวิตช์น้ำมันเครื่อง เพราะมีแรงดันของน้ำมันเครื่องอยู่ตลอดเวลา แรงดันสูงเท่ากับน้ำมันเครื่องที่ถูกปั๊มไปเลี้ยงส่ว นอื่นของเครื่องยนต์ โดยการถอดสวิตช์น้ำมันเครื่องออก และใส่ข้อต่อ 3 ทางแทน เพื่อให้ใส่สวิตช์น้ำมันเครื่องได้เหมือนเดิม ท่อที่ใช้ต่อควรจะเป็นแป๊ปเหล็ก เนื่องจากน้ำมันเครื่องที่จุดนี้มีแรงดันที่สูงมาก ไม่ควรใช้ท่อยางธรรมดาต่อ ในส่วนของท่อน้ำมันเครื่องไหลกลับเข้าสู่เครื่องยนต์ ปกติจะให้ไหลกลับลงอ่างน้ำมันเครื่องโดยเจาะรูติดตั้ งท่อไหลกลับ โดยตำแหน่งที่ต่อท่อจะต้องสูงกว่าระดับน้ำมันเครื่อง ในอ่างน้ำมันเครื่อง มิเช่นนั้นจะเกิดปัญหาน้ำมันเครื่องไหลกลับไม่ทัน แรงดันของน้ำมันเครื่องจะค้างอยู่ในตัวเทอร์โบ และจะถูกดันออกทางซีล
สำหรับ เครื่องเทอร์โบจากโรงงาน อาจจะต่อจากจุดอื่น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *