การทำงาน benz ke jet

พอดีผมมีตำรา Owners workshop manual ของ W124 และข้อมูลจากเวปต่างๆอยู่ในมือก็เลยอยากจะแปลเรื่องร ะบบการฉีดน้ำมันให้เพือนสมาชิกได้ทราบไว้เป็นพื้นฐาน ข้อมูลโดยสังเขป เผื่อว่าเวลาที่พี่ๆผู้รู้ทั้งหลายตอบปัญหาจะได้เข้า ใจตามไปได้ง่ายขึ้น (ผมว่าไปตามตำราครับ ส่วนประสบการณ์นั้นต้องอาศัยพวกพี่ๆเซียนทั้งหลายชี้ แนะครับ..หุ..หุ )

เพื่อไม่ให้บทความยาวเกินไป อาจเกิดการหาวเรอของเพื่อนสมาชิกได้ ในที่นี้จึงขอกล่าวถึงเฉพาะระบบการฉีดน้ำมันแบบ KE jetronic และ HFM control system ของ Bosch ในสาระสำคัญเท่านั้น

KE Jetronic เป็นระบบฉีดน้ำมันแบบกึ่งกลไกกึ่งอีเลคทรอนิกส์ ฉีดน้ำมันแบบต่อเนื่องไม่มีวันหยุดเสาร์อาทิตย์ โดยอาศัยแรงดันจากปั้มไฟฟ้าที่มีแรงดันสูงถึงเกือบ 80 ปอนด์/ตรน.เมื่อบิดกุญแจสตาร์ท แล้วเครื่องยนต์หมุนจะมีสัญญาณไฟแรงสูงไป จุดหัวเทียน ในเงื่อนไขนี้ปั้มจึงจะเริ่มทำงานและถ้าเครื่องยนต์เ กิดดับไปเองด้วยสาเหตุใดก็ตามแม้ว่าสวิทซ์กุญแจยังเป ิดอยู่ปั้มก็จะหยุดทำงานทันที(เนื่องจากไม่มีสัญญาณไ ฟแรงสูง)ทั้งนี้เพื่อป้องกันไฟใหม้เมื่อมีการเกิดอุบ ัติเหตุ เพื่อให้แรงดันน้ำมันราบเรียบไม่มีการกระเพื่อมในขณะ ที่เครื่องยนต์ทำงานมากนักจึงได้มีการติดตั้ง Fuel accumulator ซึ่งทำหน้าที่คล้ายตัวเก็บประจุในวงจรไฟฟ้า โดยจะมีสปริงดันอยู่ภายใน มีประโยชน์อีกสองอย่างคือเอาใว้ช่วยเป็นแรงดันน้ำมัน สำรองในตอนเริ่มสตาร์ททำให้ติดเครื่องยนต์ได้เร็วขึ้ นและเมื่อดับเครื่องใหม่ๆอุณหภูมิในห้องเครื่องจะสูง อาจทำให้เกิดการระเหยตัวเป็นฟองอากาศในระบบน้ำมันได้ (Vapor lock)การที่มีแรงดันอยู่ในระบบจะช่วยลดปัญหานี้ ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากวาวล์กักน้ำมันที่จะต ้องกักน้ำมันให้อยู่ในระบบได้นานที่สุดด้วย

การติดเครื่องยนต์เมื่อเครื่องเย็นนั้นจะมีวาวล์ช่วย จ่ายน้ำมัน (Cold start valve)ฉีดน้ำมันลงไปช่วยล่อก่อนประมาณ 8-10 วินาทีเฉพาะในช่วงที่มอเตอร์สตาร์ทกำลังหมุนอยู่เท่า นั้นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิด้วยถ้าร้อนเกิน 60 c จะไม่ฉีด เอาใจกันถึงขนาดนี้ไม่ติดให้มันรู้ไป หลังจากติดเครื่องยนต์ได้แล้วก็ต้องมีการเดินเบา ไม่ใช่เดินไปเบาไปนะ เมื่อยังไม่เหยียบคันเร่งลิ้นเร่งจะปิดเกือบสนิท อากาศจะผ่านแผ่นแอร์โฟลซึ่งเป็นตัววัดปริมาณของอากาศ ทำให้แผ่นแอร์โฟลเปิดอยู่เล็กน้อยจะมีเซนเซอร์บอกตำแ หน่งของแผ่นแอร์โฟลส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยัง ECU ว่ามีปริมาณอากาศเข้ามาเท่าใดควรจะจ่ายน้ำมันเท่าใดเ พื่อให้มีส่วนผสมที่จะเกิดการเผาใหม้ที่สมบูรณ์ (Air/Fuel ratio 14.7:1โดยน้ำหนัก ถ้ากลับเป็นF/A Ratio จะ= 0.06 ECU จะสั่งการผ่านทางวาวล์รถถัง (Electro-hydraulic actuator valve)ให้ปรับเปลี่ยนแรงดันเพื่อไปควบคุมวาวล์จ่ายน้ ำมันในฝักบัวจ่ายน้ำมันอีกทีหนึ่ง หัวฉีดก็ฉีดน้ำมันตามปริมาณที่ได้คำนวณมา แต่ถ้าภารกรรมมีการเปลี่ยนแปลงไปเช่นปิดเปิดแอร์หรือ อุณหภูมิเปลี่ยนอาจให้รอบเดินเบาเครื่องยนต์ไม่คงที่ จึงได้มีการติดตั้งวาวล์เดินเบาซึ่งมีทางเดินอากาศคร ่อมลิ้นเร่งอยู่มาให้ด้วย เพื่อควบคุมปริมาณอากาศที่แน่นอนและเปลี่ยนองศาการปิ ด-เปิดได้ตามการสั่งการจาก ECU เพื่อคุมรอบเดินเบาให้อยู่หมัดนิ่งสนิท

การจ่ายน้ำมันเข้าเครื่องยนต์ จะเป็นการแก้ปัญหาจากโจทย์ที่เกิดจากเท้าขวาของผู้ขั บ กล่าวคือเมื่อเราเหยียบคันเร่งลงไปลิ้นเร่งจะเปิดให้ อากาศถูกดูดเข้าไปในเครื่องมากขึ้นแอร์โฟลซึ่งมีส่วน ทั้งที่เป็นกลไกก็จะเปิดมากขึ้นและมีกลไกไปดันลูกสูบ จ่ายน้ำมันในฝักบัวให้จ่ายน้ำมันมากขึ้นในขณะเดียวกั นในส่วนที่เป็นอีเล็คทรอนิกส์คือแอร์โฟลเซนเซอร์ก็จะ ส่งสัญญาณไปยัง ECU ให้สั่งวาวล์รถถังให้สร้างแรงดันที่เหมาะสมไปควบคุมก ารจ่ายน้ำมันให้มากขึ้นเช่นเดียวกันเรียกว่าช่วยกันท ำงานเพื่อความสมบูรณ์ของระบบ

ในรุ่นที่มีคาตาไลติคคอนเวอร์ทเตอร์ที่ท่อไอเสียหรือ ที่เรียกสั้นๆว่าแคท ก็จะมีการติด O2 เซนเซอร์ไว้ด้วยเพื่อวัดปริมาณอ๊อกซิเจนที่หลงเหลือจ ากการเผาใหม้และส่งสัญญาณย้อนกลับมาที่ ECU เพื่อปรับส่วนผสมใหม่ถ้าวัดได้ว่าอ๊อกซิเจนเหลือมากแ สดงว่าส่วนผสมบางเกินไปทำให้ไม่สามารถทำการเผาให้มแก ๊สพิษ( CO,HC ,NOx)ในแคทที่อุณหภูมิ 300-800 C เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่นได้ ซึ่งการที่จะต้องเผื่อส่วนผสมให้หนาขึ้นอีกเล็กน้อยเ พื่อการนี้จะต้องสิ้นเปลืองน้ำมันขึ้นอีกราวๆ 5% และการปรับส่วนผสมอากาศ/น้ำมันนี้บางทีก็เรียกว่าการปรับแลมด้า ค่าแลมด้าก็คือค่าส่วนผสมน้ำมัน/อากาศที่ใช้งานจริง (Actual Fuel/Air Ratio)หารด้วยส่วนผสมที่เผาให้มได้สมบูรณ์(Stoichiom etry Fuel/Air Ratio) เช่น 0.0748/0.0680 = 1.1 (ถ้าเผาใหม้สมบูรณ์จะมีค่า = 1 ) ถ้าเทียบกลับเป็น อากาศ/น้ำมันจะได้ 13.2:1 แสดงว่าส่วนผสมหนาเล็กน้อย(เป็นส่วนผสมที่ให้แรงม้าส ูงสุดในสภาพรอบคงที่ที่ความเร็วหนึ่ง) ECU จะรับสัญญาณจาก O2 Sensor แล้วปรับส่วนผสมอยู่ตลอดเวลาเป็น Close loop ในโหมดเดินเบาจนถึงความเร็วประหยัด(เดินเบา 12.25:1,เร่งคงที่ 13.2:1,กำลังเร่ง 12.7:1) แต่เมื่อคนขับเกิดอาการเท้าหนักขึ้นมากระทันหัน เรียกม้ามาใช้กันทีละฝูงเมื่อนั้น ECU จะรู้ทันทีว่าต่อไปนี้ฉันไม่ยุ่งแล้วตัวใครตัวมัน ปลดล้อคเป็น Open loop ทันทีเหมือนกัน ทีนี้ก็จ่ายน้ำมันกันเพียบ

KE Jetronic มีใช้อยู่ในรถหลายรุ่น เช่น 200E,230E,260E,300E,E300ปี 93,300E-24Valve เอาเบาะๆแค่นี้ก่อนประเดี๋ยวจะนึกว่ามาฟังเลคเชอร์.. ฮิ..ฮิ.. ตอนต่อไปจะเป็น HFM Control system โปรดติดตาม

 

copy form benzowner.net   form manit

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *